กิจกรรมเสวนา
วาทกรรมเรื่องเพศสภาพในการเมืองไทย: สังคมไทยเรียนรู้อะไร?
ความเป็นมา
การเสวนาหัวข้อ“วาทกรรมเรื่องเพศสภาพในการเมืองไทย: สังคมไทยเรียนรู้อะไร?”เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากประเทศไทยมีผู้หญิงขึ้นดำรงตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งแรก ปรากฎการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มีข้อสังเกตุ วิพากษ์ วิจารณ์ ตลอดจนการสนับสนุนและให้กำลังใจทางการเมืองที่หลากหลายจากกลุ่มต่าง ๆ ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง ข้อวิจารณ์แวดล้อมประเด็นดังกล่าวจำนวนหนึ่งถูกวิจารณ์ซ้อนทับลงไปว่า คำวิจารณ์นั้น ๆ สะท้อนอคติทางเพศ บ้างมองว่า เป็นเพียงการวิจารณ์ที่ไร้เหตุผลและส่งผลให้ประเด็นหลักที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญของนโยบายการทางการเมืองซึ่งควรถูกนำมาพิจารณาลดความสำคัญลงไป การโต้เถียงผ่านข้อเขียนต่าง ๆ หรือ การล้อเลียนผ่านการ์ตูนการเมือง / รูปภาพ ในสื่อใหม่และสื่อกระแสหลักจากหลากกลุ่มสะท้อนให้เห็นว่ามีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยสนใจในการติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองของผู้นำ โดยผูกโยงในทางใดทางหนึ่งกับประเด็นความเป็นผู้หญิงในสังคมไทย วาทกรรมเหล่านี้ได้พาดพิงตัวละครที่หลากหลายในการเมืองไทย นับตั้งแต่ นายกรัฐมนตรี นักการเมืองหญิงชาย นักต่อสู้เรื่องสิทธิสตรี เป็นต้น อันนำมาซึ่งข้อโต้แย้งที่กว้างขวางและต่างมุมมอง
ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว โปรแกรมสื่อเพื่อประชาธิปไตย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีแนวคิดในการจัดเสวนาครั้งนี้โดยวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่า สังคมไทยได้เรียนรู้อะไรจากการโต้เถียง/พูดคุยในประเด็นแวดล้อมเรื่องเพศสภาพกับการเมืองไทยในรอบปี 2554 ที่ผ่านมา
วิทยากรนำเสวนา:
จิตรา คชเดช นักกิจกรรมทางการเมือง/แรงงาน
โตมร ศุขปรีชา นักเขียน
สุภัตรา ภูมิประพาส สื่อมวลชนอิสระ
ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สมชาย ปรีชาศิลปกุล รองศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำเนินรายการ:
โสภิดา วีรกุลเทวัญ มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์
วันเวลา: วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2554 เวลา 13.00 –16.00 นาฬิกา
สถานที่:ห้องกมลฤดี ชั้นสองโรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ(แผนที่)
กรุณาสำรองที่นั่ง (ภายใน 13 ธันวาคม 2554)
โทร.: 02-6625960-2 แฟกซ์: 02-6627576
อีเมลล์: hbs.gendernetwork@gmail.com